การประเมินพื้นที่เหมาะสมเป็นกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ การศึกษาที่ผ่านมานิยมใช้กระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) ในการประเมินพื้นที่เหมาะสม แบบจำลองการตัดสินใจที่ใช้ AHP นั้นมีข้อจำกัดเนื่องจากในบางครั้งการตัดสินใจไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบโครงสร้างลำดับชั้นเสมอไป โดยองค์ประกอบการตัดสินใจในลำดับชั้นนั้นๆ อาจมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับองค์ประกอบในลำดับชั้นที่สูงกว่าหรือต่ำได้ รวมถึงไม่สามารถคำนึงถึงผลกระทบแบบย้อนกลับได้ กระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย (Analytic Network Process: ANP) สามารถจัดการความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์การตัดสินใจ และผลกระทบที่มีต่อกันและระหว่างเกณฑ์การตัดสินใจกับทางเลือก ซึงเทคนิค ANP สามารถลดข้อผิดพลาดของ AHP

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ปัจจัยสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะทางกายภาพและเคมีของดิน ภัยพิบัติ และเศรษฐกิจ-สังคม สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาคือ ANP ในการประเมินลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการประเมินพื้นที่เหมาะสมและนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ มาใช้ในการจำแนกและการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน การวิเคราะห์ใช้เทคนิคการซ้อนทับ (Overlay technique) ข้อมูลเชิงพื้นที่และการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะ ด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยข้อมูลพื้นที่เหมาะสมสามารถใช้ในการวางแผนสำหรับการเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในอนาคตได้

หลักการในการหาพื้นที่เหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน

ปัจจัยและเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยนำปัจจัยที่ได้ไปจัดกลุ่ม ปัจจัยที่มีลักษณะคล้ายกันจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า กลุ่มปัจจัยหลัก (Clusters) ซึ่งมี 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยสมบัติทางกายภาพของดิน ปัจจัยสมบัติทางเคมีของดิน ปัจจัยสภาพภูมิประเทศ ปัจจัยภัยพิบัติ ปัจจัยสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยทางเศรษฐกิจ – สังคม

การดำเนินงาน

การประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์

กระบวนการวิเคราะห์แบบโครงข่าย (Analytic Network Process: ANP) ในการจัดลำดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อการประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งการวิเคราะห์แบบโครงข่ายมีลักษณะสร้างเป็นโครงข่าย (Network) เป็นวิธีการที่แก้ปัญหาด้านการตัดสินใจที่มีหลายปัจจัย และสามารถจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตัดสินใจต่างๆ และผลกระทบที่มีต่อกันและกันระหว่างปัจจัยการตัดสินใจกับทางเลือกโดยใช้ระดับสเกลจากสเกลอัตราส่วน และผ่านการประมวลผลของ Super matrix ด้วยการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยการประเมินโดยการเปรียบเทียบแต่ละคู่ (Pairwise Comparisons) โดยได้จัดกลุ่มปัจจัยหลักไว้ 5 กลุ่มหลัก ในแต่ละกลุ่ม จะมีปัจจัยรอง โดยผู้วิจัยได้จัดให้ปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน และทำการวิเคราะห์ตามหลักการกระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์ จนได้ลำดับของแต่ละปัจจัย

การให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัย

การให้คะแนนความสำคัญของปัจจัยแบบ กระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์ (Analytic Network Process: ANP) การให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยการประเมินโดยการเปรียบเทียบแต่ละคู่ (Pairwise Comparisons) โดยมีการเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

  • เปรียบเทียบแต่ละกลุ่มปัจจัยหลักที่มีความสัมพันธ์กัน
  • เปรียบเทียบแต่ละปัจจัยรองที่มีความสัมพันธ์กันภายในกลุ่มปัจจัยหลักเดียวกัน
  • เปรียบเทียบแต่ละกลุ่มปัจจัยรองที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มปัจจัยหลัก

การให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์การประเมินโดยการเปรียบเทียบแต่ละคู่ (Pairwise Comparisons) โดยใช้ตารางเมทริกซ์ และใช้ตัวเลข 1 ถึง 9 เพื่อบอกระดับค่าของความสำคัญ

ระดับความสำคัญ ความหมาย
1 สำคัญเท่ากัน
3 สำคัญกว่าปานกลาง
5 สำคัญกว่ามาก
7 สำคัญกว่าค่อนข้างมาก
9 สำคัญสูงกว่าสูงสุด
2,4,6,8 สำคัญกว่าเพื่อลดช่องว่างระหว่างค่า 1,3,5,7,9

การเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเพื่อใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ ANP โดยได้ความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 ท่าน ประกอบด้วย นักวิชาการเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน 10 ท่าน เกษตรกรปาล์มน้ำมัน 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศ 5 ท่าน จากนั้นนำผลของการลำดับความสัมพันธ์โดยผู้เชี่ยวชาญไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรม Super Decisions 2.10

การวิเคราะห์ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

การวิเคราะห์พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ ได้นำปัจจัยต่างๆ ทั้ง 34 ปัจจัย มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการซ้อนทับ เพื่อประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน และได้จำแนกระดับความเหมาะสมออกเป็น 5 ระดับ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนที่แสดงระดับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

ระดับความเหมาะสมออกเป็น 5 ระดับ แบ่งออกเป็น

  • เหมาะสมมากที่สุด มีค่าคะแนน 5 คะแนน
  • เหมาะสมมาก มีค่าคะแนน 4 คะแนน
  • เหมาะสมปานกลาง มีค่าคะแนน 3 คะแนน
  • เหมาะสม น้อย มีค่าคะแนน 2 คะแนน
  • ไม่เหมาะสม มีค่าคะแนน 1 คะแนน

กราฟและตารางสรุปขนาดพื้นที่

พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ขนาดพื้นที่ (ตร.กม.) ร้อยละของขนาดพื้นที่ (%)
จังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ พื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 273.6 1.5
พื้นที่เหมาะสมมาก 10,946.5 60.7
พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 1,102.5 6.1
พื้นที่เหมาะสมน้อย 591.3 3.3
พื้นที่ไม่เหมาะสม 5,116.5 28.4
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 216.2 1.7
พื้นที่เหมาะสมมาก 7,340.50 56.1
พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 775.9 5.9
พื้นที่เหมาะสมน้อย 356.9 2.7
พื้นที่ไม่เหมาะสม 4,400.9 33.6
จังหวัดกระบี่ พื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 57.4 1.2
พื้นที่เหมาะสมมาก 3,606 73
พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 326.6 6.6
พื้นที่เหมาะสมน้อย 234.4 4.7
พื้นที่ไม่เหมาะสม 715.6 14.5
พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ขนาดพื้นที่ (ตร.กม.) ร้อยละของขนาดพื้นที่ (%)
จังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ พื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 388.9 2.2
พื้นที่เหมาะสมมาก 10,846.7 60.2
พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 1,218.7 6.7
พื้นที่เหมาะสมน้อย 459.6 2.5
พื้นที่ไม่เหมาะสม 5,116.5 28.4
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 278 2.1
พื้นที่เหมาะสมมาก 7,285.9 55.7
พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 814.7 6.2
พื้นที่เหมาะสมน้อย 310.9 22.4
พื้นที่ไม่เหมาะสม 4,400.9 33.6
จังหวัดกระบี่ พื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 110.9 2.2
พื้นที่เหมาะสมมาก 3,560.8 72.1
พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 404 8.2
พื้นที่เหมาะสมน้อย 148.7 3
พื้นที่ไม่เหมาะสม 715.6 14.5

ชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ใช้ในการหาพื้นที่เหมาะสม